5. คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท มีจำนวน 7 ท่าน โดยมีรายชื่อกรรมการ ดังนี้
รายชื่อกรรมการ | ตำแหน่ง |
1. นายนวมินทร์ ประสพเนตร | ประธานกรรมการ |
2. นายปรีชา ลีละศิธร | กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล และประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน |
3. ดร.คาล จามรมาน | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน |
4. นายเจริญ แสงวิชัยภัทร | กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล และ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน |
5. นายพลพัฒน์ อัศวะประภา | กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน |
6. นางสาวเบญจวรรณ รักวงษ์ | กรรมการ |
7. นายบรรณสิทธิ์ รักวงษ์ | กรรมการ กรรมการบริหาร กรรมการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืน และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ |
โดยมี นางสาวปิติฤดี ศิริสัมพันธ์ เป็นเลขานุการบริษัท กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท นายนวมินทร์ ประสพเนตร นายปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ นายบรรณสิทธิ์ รักวงษ์ กรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัท วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริษัท ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการในขณะนั้น ถ้าจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 กรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรก และปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น ให้จับสลากกัน ส่วนปีหลังๆ ต่อไป ให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้น เป็นผู้ออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น อาจได้รับเลือกให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกได้ ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
- พิจารณากำหนดรายละเอียดและให้ความเห็นชอบ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ทิศทางธุรกิจ นโยบาย เป้าหมายที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน แผนการดำเนินงานระยะสั้น กลาง ยาว และงบประมาณของบริษัทและบริษัทย่อย ตามที่คณะกรรมการบริหารและฝ่ายจัดการจัดทำ โดยมีการพิจารณาทบทวนทุกปี ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และศักยภาพทางธุรกิจ เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจ
- กำกับดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท มติคณะกรรมการบริษัท และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- มอบหมายอำนาจการบริหารให้คณะกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือบุคคลอื่นใด ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร กำกับดูแลการบริหารงานและผลการปฏิบัติงานของบุคคลดังกล่าว ให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด รวมถึงพิจารณาแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้ชัดเจนสอดคล้องกับทิศทางของบริษัท
- ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์ของบริษัท แผนการดำเนินงานและงบประมาณของบริษัท โดยฝ่ายบริหารจะรายงานผลการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์เป็นรายไตรมาส
- ดำเนินการให้บริษัทและบริษัทย่อยมีระบบควบคุมภายใน และระบบบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอ เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการทำรายการต่างๆ ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ และมีการป้องกันความเสี่ยงอันมีผลกระทบต่อบริษัท
- ดำเนินการให้มีการนำระบบงานบัญชีที่เหมาะสมมาใช้ จัดทำงบการเงิน ลงลายมือชื่อรับรองงบการเงิน และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี เพื่อพิจารณาอนุมัติ
- พิจารณาให้ความเห็นชอบการคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเลิกจ้างผู้สอบบัญชี และพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาลนำเสนอ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำปี เพื่อพิจารณาอนุมัติ
- จัดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการ จริยธรรมทางธุรกิจ จรรยาบรรณกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เป็นลายลักษณ์อักษร สื่อสารแนวทางการปฏิบัติให้พนักงานทุกระดับรับทราบ และติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบาย ซึ่งดำเนินการทบทวนนโยบายและการปฏิบัติเป็นประจำทุกปี
- จัดทำกฎบัตรคณะกรรมการบริษัท ซึ่งระบุหน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการ และอนุมัติกฎบัตรของคณะกรรมการชุดอื่นๆ และทบทวนกฎบัตรอย่างน้อยปีละครั้ง
- พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) รวมถึง ประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง เข้าดำรงตำแหน่งในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากออกตามวาระ และพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการตามที่คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนนำเสนอ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย เช่น คณะกรรมการตรวจสอบและบรรษัทภิบาล คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืน หรือคณะกรรมการชุดย่อยอื่นใด และกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
- พิจารณากำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อกรรมการซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทได้
- พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารตามคำนิยามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และเลขานุการบริษัท รวมทั้งพิจารณากำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารดังกล่าวตามที่คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนนำเสนอ
- ขอความเห็นทางวิชาชีพจากองค์กรภายนอก หากมีความจำเป็นเพื่อประกอบการตัดสินใจที่เหมาะสม
- ส่งเสริมให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทเข้าร่วมหลักสูตรสัมมนาต่างๆ ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารนั้น
ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทนั้น จะไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจ หรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้คณะกรรมการบริษัทหรือผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริษัท สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศ ก.ล.ต. หรือประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) อาจมีส่วนได้เสีย หรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใดๆ หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทหรือบริษัทย่อยของบริษัท ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบาย และหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติไว้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานกรรมการ
- รับผิดชอบเป็นผู้นำคณะกรรมการบริษัท ตัดสินใจเรื่องเกี่ยวกับนโยบายบริษัท เป้าหมายทางธุรกิจร่วมกับฝ่ายจัดการ อันเป็นผลจากการประชุมคณะกรรมการบริษัท
- กำกับ ติดตาม การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท
- เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ควบคุมการประชุมให้มีประสิทธิภาพ จัดสรรเวลาประชุมอย่างเพียงพอในการพิจารณาประเด็นสำคัญอย่างรอบคอบ ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระที่กำหนด และเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท
- พิจารณากำหนดวาระการประชุมร่วมกับฝ่ายจัดการ และให้เรื่องสำคัญได้รับการบรรจุเป็นวาระการประชุม ส่งเสริมให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุม และแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระ
- ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรในการมีจริยธรรม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร รวมถึงระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ
- ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- บริหารจัดการบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม ให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ภายใต้กรอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
- กำกับดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของบริษัท ติดตามการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ รายงานผลการดำเนินงาน และผลประกอบการต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
- กำหนดนโยบายและระเบียบการปฏิบัติงานต่างๆ ในอันที่จะสนับสนุนการดำเนินงานทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด
- ส่งเสริมให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม และจรรยาบรรณ ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรในการมีจริยธรรม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- บริหารจัดการงานทรัพยากรบุคคล การคัดเลือกบุคลากร บริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ
- บริหารจัดการด้านการเงิน การใช้ทรัพยากร และงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น